The Education Department of Bangkok Archdiocese

29 07 65

Photo:  https://bit.ly/3Q1FEUl

 

ไม่มีความเที่ยงแท้ใดภายใต้ดวงอาทิตย์

.......................................

 

“ความกังวลใจที่เขาต้องตรากตรำภายใต้ดวงอาทิตย์

ทุกวันของเขามีแต่ความทุกข์

งานของเขาคือความกังวลใจ

แม้ในเวลากลางคืน จิตใจของเขาก็ยังไม่ได้หยุดพัก

นี่ก็ไม่เที่ยงแท้ด้วย”

(ปัญญาจารย์ 2:22-23)

 

ในหนังสือปัญญาจารย์บทนี้เหมือนเป็นเสียงเรียกเตือนฉัน

ในวันที่ฉันสาละวนอยู่กับภาระหน้าที่การงาน

ที่คาดหวังว่ามันจะต้องออกมาดีและผิดพลาดน้อยที่สุด

โดยปกติฉันจะเป็นคนที่นอนหลับง่ายและเข้านอนแต่หัวค่ำ

เพราะฉันต้องการที่จะตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่อย่างสดใส

เพื่อจะได้มีพลังในการทำหน้าที่อย่างดีที่สุดตลอดทั้งวัน

แต่เมื่อความคาดหวังต่อหน้าที่ของฉัน

กลับเปลี่ยนเป็นความกดดัน จริงจัง มุ่งมั่นที่จะต้องทำให้ดีที่สุด

ทั้งๆที่ฉันมักปลอบใจตัวเองอยู่เสมอว่าฉันไม่คิดมาก ฉันปล่อยวางได้

มันน่าแปลกที่ความรู้สึกเหล่านั้น ไม่ทำร้ายฉันในช่วงตลอดวันที่ฉันมีเวลาคิดนั้นทำนี่

มันกลับมาทำร้ายฉันในยามค่ำคืนที่ฉันกำลังหลับใหล

มันปลุกฉันขึ้นมายามค่ำคืน และวนเวียนหลอกหลอนฉันจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่

ฉันไม่สามารถควบคุมจิตของฉันให้สงบและหลับใหลต่อไปอีกได้เลย

 

ในหนังสือปัญญาจารย์กล่าวว่า

“ไม่เที่ยงแท้ที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงแท้

เพราะคนที่ตรากตรำทำงานโดยใช้ปรีชาญาณ ความรู้และความชำนาญ

จะต้องละทิ้งผลงานให้เป็นมรดกแก่คนที่ไม่ได้ตรากตรำเพื่องานนั้นเลย”

(ปัญญาจารย์ 1:2-4)

 

อย่างไรเสีย ฉันก็ยังเห็นว่า มนุษย์เราจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อเราสร้างผลงานที่ดี

เพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยความรักตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอน

แต่ปัญญาจารย์ก็เป็นเหมือนเสียงเตือนใจ

เป็นเหมือนเบรกชีวิต ที่เมื่อเราวิ่งไปสุดแรง เต็มกำลัง

เราอาจจะลืมไปว่า เรากำลังออกแรงทำเพื่อรับใช้ผู้อื่น หรือเพื่อรับใช้ตัวเอง

เพื่อสร้างสุขให้ผู้อื่น หรือเพื่อสร้างสุขให้ตนเอง

เพื่อเสริมสร้างผู้อื่น หรือเพื่อเสริมสร้างตนเอง

บางทีเราอาจจะกำลังทำเพื่อสร้างอำนาจ บารมีให้ตนเองก็ได้

เสียงปัญญาจารย์จึงเป็นเหมือนเสียงเตือนใจให้เราไม่หลงระเริง

ออกนอกประเด็นหลักของเป้าหมายที่แท้จริงที่เราควรจะทำ

ไม่หลงระเริงไปกับความโลภจากความคาดหวังต่างๆของโลกนี้

 

“จงระวัง และรักษาตัวไว้ให้พ้นจากความโลภทุกชนิด

เพราะชีวิตของคนเราไม่ขึ้นกับทรัพย์สมบัติของเขา

แม้ว่าเขาจะมั่งมีมากเพียงใดก็ตาม”

(ลูกา 12:14)

 

ฉันเองก็เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ที่ยังต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง

ยังดำเนินชีวิตอยู่บนความคาดหวังของตัวเองและคนรอบข้าง

ยังปรารถนาความสุขสมหวังฝ่ายกาย

แต่ฉันยังโชคดีที่ฉันมีพระวาจาคอยชี้นำทาง

ในวันที่ฉันกำลังจะเดินหลงออกนอกเส้นทางเสมอ

พระวาจาจะคอยเตือนและแตะเบรกชีวิตให้กับฉัน

ไม่ให้ฉันหลงใหลได้ปลื้มไปจนลืมตัว

แต่ก็ยอมให้เวลากับความสุขอย่างพอประมาณสำหรับกำลังใจบนโลกใบนี้ของฉัน

คำชื่นชมแต่พอควร ของรางวัลแต่พอประมาณ

ล้วนเป็นของประทานที่พระเจ้าทรงพระเมตตาประทานให้ฉัน

 

“พระเจ้าตรัสกับเขา(ฉัน)ว่า คืนนี้เขาจะเรียกเอาชีวิตเจ้าไป

แล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะเป็นของใครเล่า

คนที่สะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตนเอง

แต่ไม่เป็นคนมั่งมีสำหรับพระเจ้า ก็จะเป็นเช่นนี้”

(ลูกา 12:20-21)

 

อนิจจัง อนิจจัง เอวังเอ๋ย

เช้าล่วงเลย เย็นล่วงลับ แล้วดับหาย

โลกหมุนเวียน เปลี่ยนไป ไม่เว้นวาย

เช้าจรดสาย บ่ายจรดค่ำ จำตรึกตรอง

ที่ผ่านมา ก็ผ่านไป ไม่แปรเปลี่ยน

แล้ววนเวียน เปลี่ยนผัน วันหม่นหมอง

รังเกียจทุกข์ ร้องหาสุข มาครอบครอง

แต่หามี ใครจับจอง สุขได้เลย

สะสมใด ไหนเล่า เท่ามีธรรม

คอยชี้นำ ธรรมทาง วางนิ่งเฉย

โลกเปลี่ยนผัน แต่ใจฉัน ไม่เปลี่ยนเลย

เพราะคุ้นเคย อนิจจัง เอวังจริง

 

--------------------------------------------

เติมวิตามินใจด้วยพระวาจา

ไปกับ น้ำผึ้งหวาน

(Theresa Paradee Thescharee)
27-07-2022

คัดลอกLinkเพื่อแบ่งปันบทความ  >>  https://bit.ly/3cQrkQs

สาระ - การศึกษา

มารู้จักแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Approach)
มารู้จักแนวทางการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ (Montessori Approach) ความเป็นมา มอนเตสซอรี่เป็นแนวทางการศึกษาหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ความสำคัญกับศักยภาพของแต่ละบุคคล พัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นโดย แพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ แพทย์ชาวอิตาเลียน วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907 เป็นวันเริ่มเปิดโรงเรียนแห่งแรกของแพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Casa dei Bambini โดยมอนเตสซอรี่ช่วยเหลือในการจัดการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่ง...

สำนักอำนวยการ

นำเสนองบประมาณและกลยุทธ์ฯ ประจำปีการศึกษา 2566  เขตการศึกษาที่ 3 (24มี.ค.66)
นำเสนองบประมาณและกลยุทธ์ฯ ประจำปีการศึกษา 2566 เขตการศึกษาที่ 3 วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น.-12.00 น. ณ ห้องประชุมราชินีสวรรค์ ชั้น 1 อาคารเซนต์แมรี่ โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 8 โรงเรียน ประกอบด้วย พระแม่สกลสงเคราะห์,คาเบรียลอุปถัมภ์,ซางตาครู้สศึกษา, เซนต์แมรี่,เซนต์ปีเตอร์ ธนบุรี,แม่พระประจักษ์ กทม.,อัสสัมชัญศึกษาและเซนต์ราฟาแอล ผู้บริหาร 7 ท่าน ครู 15 ท่าน รวม 22 ท่าน โดย ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม...

กลุ่มงานจิตตาภิบาล

24 มีนาคม 2566 ติดตามและประเมินการปฏิบัติหน้าที่ครูจิตตาภิบาลชำนาญการ ณ โรงเรียนนักบุญเปโตร
ติดตามและประเมินการปฏิบัติหน้าที่ครูจิตตาภิบาลชำนาญการ ณ โรงเรียนนักบุญเปโตร วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - แผนกจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษาฯ กำหนดให้มีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ครูจิตตาภิบาลชำนาญการ เพื่อรักษาระดับคุณภาพและผลงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยทำการประเมินผลงานในรอบปีการศึกษา 2564 – 2565 คณะกรรมการจากฝ่ายการศึกษาฯ นำโดย บาทหลวงธนายุทธ ผลาผล...

แผนกวิชาการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

18 - 19 │อบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน” ระดับมัธยม
อบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน” ระดับมัธยม * * * * * * * * * วันที่ 18 - 19 มีนาคม 2566 แผนกวิชาการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน” ระดับมัธยม ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาลบ้านผู้หว่าน จ.นครปฐม โดยบาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ รองผู้อำนวยการ / ประธานกลุ่มงานวิชาการ เป็นประธาน วจนพิธีกรรมเปิด * * * * * * * * * * * * * * * * * * วิทยากรในการอบรม ดร.เฉลิมลาภ ทองอาจ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม * * *...

แผนกปฐมวัย

9-10 มีนาคม 2566 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับเด็กต่ำกว่า 3 ปี”
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับเด็กต่ำกว่า 3 ปี” .................................... วันที่ 9-10 มีนาคม 2566 ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ แผนกปฐมวัย อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับเด็กต่ำกว่า 3...

สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

10 มีนาคม 2566 ประชุม คกก.ผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุง-แก้ไขเครื่องมือประเมิน ผู้ช่วยผู้บริหารดีเด่นและครูเด่น
การประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปรับปรุง-แก้ไขเครื่องมือประเมิน ผู้ช่วยผู้บริหารดีเด่นและครูเด่น วิธีการดำเนินการ ขั้นตอนการคัดเลือก หลักเกณฑ์และแนวการดำเนินการคัดเลือกผู้ช่วยผู้บริหารดีเด่นและครูดีเด่น- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - บาทหลวงศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย ประธานสำนักมาตรฐานฯ บาทหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้อำนวยการ ฝ่ายการศึกษาฯ ได้มาให้กำลังใจแด่คณาอาจารย์ทุกๆท่าน การประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ...

แผนกภาษาต่างประเทศ

21 ธันวาคม 2565 │ประชุม “พิจารณาหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษ”
ประชุม “พิจารณาหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษ” * * * * * * * * วันที่ 21 ธันวาคม 2565 แผนกวิชาการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุม "พิจารณาหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษ" ณ ห้องประชุมชั้น 8 ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยบาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ รองผู้อำนวยการ / ประธานกลุ่มงานวิชาการ เป็นประธาน วจนพิธีกรรมเปิด (ผ่านระบบ Zoom) * * * * * * * * *...

แผนกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เครื่องแบบลูกเสือ – สีและตราผ้าผูกคอลูกเสือ(23มี.ค.66)
เครื่องแบบลูกเสือ – สีและตราผ้าผูกคอลูกเสือ ภาพจาก : https://hilight.kapook.com/image_fb/45/220984-new-125342.jpg สีของผ้าผูกคอลูกเสือในไทย ได้ถูกกำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ พ.ศ. 2510 โดยแบ่งสีของผ้าผูกคอตามเขตของกิจการลูกเสือ ซึ่งเป็นการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาในอดีต เป็น 12 เขต ได้แก่ เขตที่ 1 - สีเหลือง เขตที่ 2 - สีเขียว เขตที่...

Fr CECT

GCE Youtube2

prawaja

1605858507041

แบนเนอร์นิทาน

โลโก้จุลสารปี 2563 QRC

โลโก้ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

Test2566RM

find us on youtubeunnamed

365days

liturgical calendar

BD2023ok

ordomissae

ปกหน้า หลัง Page 1  

ปกหน้า หลัง Page 3

 

ปกหน้า หลัง Page 5 

ปกหน้า หลัง Page 1

Poster PR CHRISTIANITY BOOK resize

1649642956797

สถิติเว็บไซต์(เริ่ม 02-04-2564)

3.png2.png9.png5.png1.png9.png3.png
วันนี้1682
เมื่อวานนี้2685
อาทิตย์นี้29116
เดือนนี้96102
รวม3295193

Who Is Online

8
Online

วันอาทิตย์, 26 มีนาคม 2566 14:20