พ่อแม่มีส่วนทำให้ลูกขี้เกียจหรือเปล่า
มีด้วยหรือที่พ่อแม่จะสอนลูกให้ขี้เกียจ คำตอบคือ “มี” และมีอยู่เป็นจำนวนมากด้วย บางทีท่านที่กำลังอ่านจุลสารเล่มนี้อยู่นี่แหละ ถ้าท่านมีลูก ท่านก็อาจจะเป็นอีกคนหนึ่งที่เคยสอน หรือกำลังสอนลูกให้ขี้เกียจอยู่ ลองพิจารณาดูว่าจะเป็นความจริง
ไหม สมมุติว่าลูกเรากำลังอยู่ในวัยอนุบาลอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป ในวัยนี้เราสามารถที่จะให้ลูกช่วยเราทำงานบ้านได้ตั้งหลายอย่าง แต่พ่อแม่ส่วนมากก็มักจะไม่ให้ทำ เช่น ลูกควรตื่นนอนเวลา 05.00 น. หรือ 06.00น. พ่อแม่รู้ว่าถ้าลูกตื่นในช่วงนี้แล้วลุกขึ้นเก็บ
ที่นอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ กินข้าวเสร็จล้างถ้วยชามเสร็จก็จะได้เวลาไปโรงเรียนพอดี แต่พ่อแม่บางคนไปปลุกลูกหลัง 06.00 น. หรือ 07.00 น. ซึ่งเป็น เวลาที่จะออกจากบ้านไปโรงเรียนแล้ว เลยต้อง รีบทำอะไรๆ อย่างรีบด่วนไปหมด ขาด ๆ ตก ๆ ต้อง
เอะอะโวยวายลั่นบ้านให้เสียสุขภาพจิตของตนเองและลูก เพราะมีเวลาน้อย ตามปกติธรรมชาติย่อมสร้างความ สมดุลแล้ว ไม่ว่าในการกิน การนอน หรือการออกกำลังกาย ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องก็ย่อมจะไม่เกิดปัญหา ไม่ว่าระยะสั้นหรือระยะยาว
-งานกวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างถ้วยชาม ดายหญ้ารดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดบริเวณบ้าน เก็บกวาดเศษขยะต่าง ๆ ล้วนแต่ลูกในวัยนี้ช่วยได้ ทำแทนได้เกือบทั้งหมด แต่พ่อแม่ส่วนมากก็ไม่ใช้ให้ทำ
-ลูกเล่นของเล่นต่าง ๆ แล้วทิ้งไว้เกลื่อนบ้านแล้วพ่อแม่หรือคนใช้เก็บให้ แทนที่จะให้ลูกช่วยตัวเอง ก็กลับให้เป็นภาระแก่ผู้อื่นเป็นการสร้างนิสัยมักง่าย ความเห็นแก่ตัวสะสมขึ้นเรื่อย ๆ
-ถ้ามีรถส่วนตัว งานเช็ดรถ ล้างรถ ทำความสะอาดรถ ลูกในวัยนี้ก็ทำได้สบายมาก เป็นการช่วยให้ลูกได้ออกกำลังกายที่ดี ดีกว่าไปเล่นกีฬาและได้ประสบการณ์ด้วย คือ ช่วยให้ลูกทำงานคล่อง ทำงานเป็น และ ทำงานได้เรียบร้อย แต่พ่อแม่บางคนก็ไม่ใช้ให้ทำ
พ่อแม่มีงานบ้านเต็มมือจนหาเวลาว่างไม่ได้ แต่ปล่อยให้ลูกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน หรืออยู่ในบ้านก็ไม่ให้ช่วยแบ่งเบาภาระ ปล่อยให้นั่ง ๆ นอน ๆ ดูทีวี หรือวีดิโอ หรือเล่นอะไรไปตามประสา
สิ่งเหล่านี้ แสดงว่าพ่อแม่สอนให้ลูกขี้เกียจหรือไม่ ถ้ามองดูอย่างผิวเผิน พ่อแม่อาจนึกภูมิใจว่าตนเองรักลูก และเมตตาลูกจึงไม่อยากเห็นลูกลำบากหรือเหนื่อย แต่แท้ที่จริงแล้วนั่นย่อมแสดงให้เห็นพ่อแม่ ชนิดนี้โง่เขลามากเพราะนอกจากพ่อแม่ส่งเสริมให้ลูก
ขี้เกียจแล้ว ยังเป็นการสะสมความเห็นแก่ตัวให้แก่ลูกอีกด้วย การที่เราไม่ใช้ ไม่บังคับ และไม่ทำโทษลูก นั่นแหละคือการสอนให้ลูกขี้เกียจ เพราะเด็กเขาไม่รู้ หรอกว่าผลแห่งความเกียจคร้านมันจะเป็นอย่างไร แต่พ่อแม่นั้นย่อมจะรู้ดี จึงไม่ควรที่จะปล่อยให้ลูก
ขี้เกียจ ขนาดลูกเราตัวเล็ก ๆ เรายังบังคับหรือสอนเขาไม่ได้ แล้วท่านแน่ใจหรือว่า เมื่อเขาโตแล้วเราจะสอนเขา ได้ ไม้อ่อนย่อมดัดง่ายกว่าไม้แก่ฉันใด การไม่ดัดนิสัยขี้เกียจของลูกในยามเล็ก โดยหวังจะให้เขาไปขยันเอาเมื่อโตนั้น ก็ย่อมจะยากเย็นฉันนั้น
การเลี้ยงลูกให้ถูกต้องจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย แต่ที่สำคัญจริง ๆ ก็พ่อแม่นั่นแหละ จะต้องเป็นพ่อแม่ที่ทั้งเข้มและทั้งแข็งอย่างเสมอต้นเสมอปลาย พ่อแม่บางคนเป็นคนใจอ่อน พอเห็นลูกเศร้าซึม หรือน้ำตาออกก็ใจแป้ว
ไม่อาจจะบังคับหรือทำโทษลูกได้ ก็เลยยอมไม่ให้ลูกทำอะไร ๆ ไปหมดทุกอย่าง
ตัวอย่าง หนังสือนิทาน
ที่คุณพ่อ คุณแม่ ควรเล่าให้ลูกฟังเพื่อเป็นตัวอย่างของความอดทน ขยัน
ที่มา : จุลสารเพื่อนอนุบาล ฉบับที่ 1 ปี 2563 (หน้า 9-11)
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
www.edbathai.com